วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

art สีไม้

              เทคนิคการเขียนสีไม้              


     สีไม้หรือ ดินสอสี สื่อใกล้ตัวที่เรามองข้าม ทุกอย่างอยู่ที่การฝึกฝน ดินสอเพียงหนึ่งแท่งก็สามารถทำให้ภาพสวยงามอย่างไม่น่าเชื่อ ถ้าเราเบื่อการวาดเส้นขาวดำ การเริ่มต้นมาใช้ดินสอสีก็นับว่าน่าสนใจ ข้อดีคือเราสามารถแก้ปัญหาได้ง่ายกว่า การใช้สีที่เป็นลักษณะของเหลว สีแทบทุกเฉดมีให้เราเลือกโดยที่ไม่ต้องผสมมากมาย และไม่หลงโทนสี
ข้อเสียน่าจะเป็น หากเราเขียนหนา ทับมากเกินไปสีจะจับตัวเป็นไข ทำให้ลงทับไม่ได้

     วาดลงบนกระดาษร้อยปอนด์เรียบสีที่ใช้คือ Faber castell


 เทคนิคการเขียนสีไม้






      หลังจากเตรียมอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มขั้นตอนแรก คือเราจะวางตำแหน่งของรูปก่อน เช่นเราจะกำหนดให้มีความสูงเท่าไหร่ กว้างเท่าไหร่ เพื่อให้เวลาร่างลงไปจะได้ไม่เกินหน้ากระดาษ หรือเล็กเกินไป จนดูไม่เหมาะสม จากนั้นวางตำแหน่งต่างๆของวัตถุโดยไม่ต้องสนใจรายละเอียด แต่มองให้เป็นรูปทรงง่าย ๆ เช่น สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม วงรี ขั้นตอนนี้ใช้สีไม้ สีม่วงในการร่าง ถ้าใช้ดินสอดำจะสกปรก โดยร่างเบา ๆ แค่พอมองเห็น




 เทคนิคการเขียนสีไม้








      เริ่มใส่รายละเอียดในขั้นตอนต่อไป




 เทคนิคการเขียนสีไม้








      จากนั้นเก็บรายละเอียดอีกรอบ




 เทคนิคการเขียนสีไม้








     เริ่มลงสี ดินสอสีอาจจะให้ได้ไม่ทุกเฉดสีแต่เราสามารถผสมได้โดยการลงผสมกัน ทับไปทับมา แต่อย่ามากเกินไปนะครับ มันจะเป็นไข อันนี้ต้องลองดูว่าแค่ไหน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับยี่ห้อของดินสอสีด้วยครับ บางยี่ห้อลงไปไม่ค่อยมีเนื้อสี บางยี่ห้อถ้าเป็นสีไม้แบบระบายน้ำ อาจไม่เหมาะที่จะทับหลายชั้น เพราะจะจับตัวเป็นสะเก็ดและลงทับมากไม่ได้ เริ่มที่ลงสีภาพรวมก่อนน่ะ






 เทคนิคการเขียนสีไม้








      ลงเพื่อให้เห็นโทนสีโดยรวมโดยไม่ต้องสนใจรายละเอียดมากนัก




 เทคนิคการเขียนสีไม้








      ลงโดยรวมแล้ว ชั้นที่สอง ก็เก็บรายละเอียดมากขึ้น สีที่ลงในวัตถุแต่ละอย่าง จะผสมหลาย ๆ สีเข้าไป โดยเปรียบเทียบสีกับต้นแบบอยู่เรื่อย ๆ ระบายทับไปทับมา อย่าลืมมองแสงเงาประกอบไปด้วย




 เทคนิคการเขียนสีไม้






 เทคนิคการเขียนสีไม้




      พยายามจัดแสงให้มองง่ายที่สุด ทุกอย่างจะเกิดมิติก็ด้วยน้ำหนัก และแสงเงา


 เทคนิคการเขียนสีไม้






     ถึงขั้นตอนนี้ก็รองพื้นเสร็จแล้วครับ อาจจะมีความรู้สึกว่าช้า กว่าจะระบายได้เต็มพื้นที่ แต่จะเร็วกว่าสีชนิดที่เป็นของเหลวเพราะเราสามารถหยิบสีโทนต่าง ๆ มาใช้ได้ทันที โดยที่ไม่ต้องมาผสมใหม่ การใช้สีไม้เหมือนกับการวาดเส้นด้วยดินสอเลยครับ ตรงไหนน้ำหนักเข้มก็กดหนักหน่อย ตรงไหนน้ำหนักเบาก็ลงแผ่ว ๆ หากกดเต็มที่แล้วยังไม่ได้น้ำหนักที่ต้องการ ค่อยเปลี่ยนสีให้เข้มขึ้น




 เทคนิคการเขียนสีไม้








      เก็บรายละเอียด เริ่มจากพื้นสีเขียว สังเกตว่าไม่ได้มีเพียงสีเขียวอ่อน กลางเข้มเท่านั้น แต่ยังมีสีน้ำตาลแดง เข้ามาเบรก จะทำให้เขียวไม่จัดเกินไป และยังทำให้สีโดยรวมกลมกลืนกันด้วย




 เทคนิคการเขียนสีไม้








     เสร็จเรียบร้อย จานสีขาว สังเกตเงา เลือกใช้สีเทาอมม่วง ส่วนของเงาตกทอดของวัตถุอื่น ๆ จะใช้น้ำเงินเข้ม+น้ำตาล ในภาพนี้ไม่ได้ใช้สีดำเลย สีอาจจะไม่ได้ตามต้นแบบซะทีเดียว ก็ใช้ผสมกันไปมา หากวัตถุเป็นสีโทนร้อนผมมักเลือกใช้สีโทนเย็นมาเบรกในส่วนเงา เช่นเดียวกันหากวัตถุเป็นโทนเย็น ก็เอาโทนร้อนมาเบรก




     อุปกรณ์น้อย ทำงานได้สะดวกทุกที่ทุกเวลา เวลาลงสีผิด พอจะลบออกได้บ้างแต่ไม่สะอาด เหมาะสำหรับมือใหม่ที่ยังน้ำหนักมือไม่มั่นคง การมองแสงเงายังไม่เก่ง และยังได้ฝึกผสมสีเบื้องต้น




 เทคนิคการเขียนสีไม้

art สีชอล์ค

      สีชอล์ค     
  


เป็นสีผงฝุ่นละเอียดบริสุทธิ์นำมาอัดเป็นแท่ง ใช้ในการวาดภาพมาประมาณ 250 ปี แล้ว  ปัจจุบันมีการผสมขี้ผึ้งหรือกาวยางไม้เข้าไปด้วยแล้วอัดเป็นแท่งแล้วอัดเป็นแท่งในลักษณะของดินสอสี  แต่มีเนื้อละเอียดกว่า  แท่งใหญ่กว่า  และมีราคาแพงกว่า  มักใช้ในการวาดภาพเหมือน
การสร้างงานด้วยสีชอล์คน้ำมัน มักจะมีการระบายทับซ้อน ประมาณ 2 - 3 ชั้น เพื่อให้เกิดการผสมผสานสีใหม่ หรือการไล่โทนสีอย่างกลมกลืนมีขั้นตอนดังนี้
1. การระบายสีชอล์ค ควรใช้กระดาษผิวหยาบเพื่อให้พื้นผิวยที่ขรุขระสามารถรองรับเนื้อสีไว้ได้ 
2. การระบายสีชั้นแรกควรใช้สีเข้มก่อนเพราะสีชอล์คน้ำมันเป็นสีที่ทึบแสง และควรระบายสีให้กลมกลืนกันไว้ เพราะต้องเผื่อความลึกของพื้นผิวไว้ให้สีชั้นบนด้วย จากนั้นแล้วการระบายสีชั้นต่อๆไปจึงเป็นสีอ่อนขึ้นตามลำดับ
3. ช่วงต่อตะเข็บระหว่างสี ควรระบายให้บางกว่าในส่วนที่ถัอออกไปจะได้ช่วยในการผสมผสานกลมกลืนเป็นไปได้ง่าย

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

art สีน้ำ

เทคนิคการเขียนภาพสีน้ำ
การเขียนภาพสีน้ำทิวทัศน์เป็นการเขียนภาพที่หลาย ๆ คนสนใจ  ศิลปินหลาย ๆ คนต่างก็มีเทคนิควิธีการแตกต่างกัน ตามความถนัดและความสามารถเฉพาะตน โดยหลักการหรือเทคนิควิธีการ  ถ้าได้ศึกษาฝึกเขียนจนเกิดความชำนาญแล้วขั้นตอนจะไม่ตายตัว 
          แต่มีหลักเกณฑ์อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมชาติของการเขียนสีน้ำที่ควรคำนึง คือ การลงน้ำหนักจากอ่อนไปหาเข้ม  หมายถึง การลงสีพื้นหรือน้ำหนักของสิ่งต่าง ๆ จากอ่อนไปหาเข้ม


๑. กลุ่มสีเหลือง ได้แก่ Lemon yellow, Gamboge, Yellow ochre 
๒. กลุ่มสีฟ้า ได้แก่ Cerulean blue, Cobalt blue, Untramarine blue 
๓. กลุ่มสีแดง + ม่วง ได้แก่ Rose madder, Alizarine crimson, Mauve 
๔. สีเขียว ได้แก่ Sap green 
๕. กลุ่มสีน้ำตาล ได้แก่ Sepia, Burnt sianna 
๖. กระดาษ อาร์เช่ (Arches) ๑๘๕ แกรม 
 ๗. พู่กันกลม เบอร์ ๔, ๘, ๑๒  พู่กันแบน ๑ นิ้ว 

คัดเลือกภาพที่ต้องตา ต้องใจ มาเป็นแบบ
 
คัดเลือกภาพที่ต้องตา ต้องใจ มาเป็นแบบ
ร่างภาพด้วยดินสอ
 
 
 ลงสีพื้นด้วยสีฟ้า (Cerulean blue) กับสีเหลือง (Yellow ochre) เป็นบรรยากาศรวมของภาพ เน้นสีให้หนักขึ้นในระยะใกล้ใช้สีม่วง (Mouve) และสีเขียว (Sap green)
 เขียนภาพเรือ ลงน้ำหนักใต้ท้องเรือและสีพื้นด้วยสีม่วง (Mauve) น้ำตาล (Burnt sienna) ฟ้า (Cobalt blue)
 
 
 การเขียนรายละเอียด ใช้พู่กันเล็กเบอร์ ๔
 
 ขียนผักตบในระยะใกล้ ด้วยสีเขียว (Sap green) กับสีเหลือง (Gamboge) เน้นน้ำหนักแสงเงาด้วยสีน้ำตาลอมเขียว
 
 
 
 
 
 
 ภาพที่ลงน้ำหนักรวมของเรือและผักตบ ในระยะหน้าลำไม้ไผ่ ๒ ต้น ผลักระยะให้เกิดความลึกของภาพ
 
 คัดน้ำหนักให้ชัดเจน
 
 ลงเงาสะท้อนของเรือในน้ำ ในจังหวะดียวกันอย่างรวดเร็ว ทิ้งฝีแปรงให้เกิดความสนุกสนานพร้อมกับเบรคสีด้วยสีคู่ตรงกันข้าม
 
ผลงานที่เสร็จสมบูรณ์
          “มีคำถามที่ได้ยินเสมอว่า  ในการเขียนภาพสีน้ำควรเขียนจากข้างหน้าก่อน หรือข้างหลังก่อน  คำถามนี้ขอตอบว่าข้างหน้าก่อนหรือข้างหลังก่อนก็ได้  แต่การเขียนสิ่งที่อยู่ข้างหน้าก่อน  ไม่ว่าจะเป็นหุ่นนิ่ง  ทิวทัศน์  หรือภาพคน  มีข้อดีตรงที่สามารถแยกระยะน้ำหนักของภาพได้ดีกว่า 
         หรือบางคนสามารถลงน้ำหนักทั้งระยะหน้า และระยะหลังควบคู่กันไปก็ได้  สิ่งที่สำคัญคือต้องเขียนให้ภาพมีมิติความลึก  เน้นให้จุดเด่นของภาพแลดูสวยงาม  ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องเกิดขึ้นจากการฝึกฝนปฏิบัติ  ทดลอง  จนเกิดความเข้าใจ  เกิดทักษะความชำนาญในการเขียนสีน้ำ 
         อยากให้กำลังใจทุกคนที่รักการเขียนสีน้ำ  ฝึกปฏิบัติจากง่ายไปหายาก  จนเกิดความประทับใจ  เกิดแรงบันดาลใจ เข้าใจในธรรมชาติของสีและน้ำ  เราจะรู้ว่าการเขียนสีน้ำนั้นไม่ยากเลย” 

art สีน้ำมัน

   
 สีน้ำมัน 

สีน้ำมัน ผลิตจากการผสมของสีฝุ่นกับน้ำมัน ซึ่งเป็นน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันลินสีด ( Linseed ) ซึ่งกลั่นมาจากต้นแฟลกซ์ หรือน้ำมันจากเมล็ดป๊อบปี้ สีน้ำมันเป็นสีทึบแสง เวลาระบายมักใช้สีขาว ผสมให้ได้น้ำหนักอ่อนแก่ งานวาดภาพสีน้ำมัน มักเขียนลงบนผ้าใบ (Canvas ) มีความคงทนมาก
และกันน้ำ ศิลปินรู้จักใช้สีน้ำมันวาดภาพมาหลายร้อยปีแล้ว


การวาดภาพสีน้ำมัน อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปีก็ได้ เนื่องจากสีน้ำมันแห้งช้ามาก ทำให้ไม่ต้องรีบร้อน สามารถวาดภาพสีน้ำมันที่มีขนาดใหญ่ ๆ และสามารถแก้ไขงาน ด้วยการเขียนทับงานเดิม


สีน้ำมันสำหรับเขียนภาพจะบรรจุในหลอดซึ่งมีราคาสูงต่ำขึ้นอยู่กับคุณภาพการใช้งานจะผสมด้วย
น้ำมันลินสีด ซึ่งจะทำให้เหนียวและเป็นมัน แต่ถ้าใช้น้ำมันสนจะทำให้แห้งเร็วขึ้นและสีด้าน พู่กันที่ใช้ระบายสีน้ำมันเป็นพู่กันแบนที่มีขนแข็งๆ สีน้ำมัน เป็นสีที่ศิลปินส่วนใหญ่นิยมใช้วาดภาพ มาตั้งแต่สมัยเรอเนซองส์ยุคปลาย
สีน้ำมัน

art แรเงา

เทคนิคการวาดภาพแรเงา




การเรียนรู้น้ำหนักมือ การบังคับทิศทางมือ ต้องฝึกจนจำความหนักเบาได้ดังนี้
1.วาดรูป สี่เหลี่ยม 2 x 2 นิ้ว 4 แถว แถวละ 5 ช่อง แรเงาจากเข้มมากจนจางลง เป็น 5 ระดับความเข้ม แต่ละช่องต้องแรเงาให้สีสม่ำเสมอกัน
ดินสอ HB ตีกรอบ ดินสอ EE แรเงา จับดินสอคล้ายกับจับปากกาแล้วขีดไปทิศทางเดียวกันสั้นไม่ต้องยาวมาก ไม่ตะแคงดินสอแบบที่แรเงากันตอนเด็กๆ ดินสออย่าทู่มากเส้นจะไม่สวย
2.วาดรูป สี่เหลี่ยม 4 x 4 นิ้ว 2 แถว แถวละ 2 ช่อง แรเงาจากเข้มมากจนจางลง 4 ระดับความเข้ม แต่ละช่องต้องแรเงาให้สีสม่ำเสมอกัน
ฝนลากยาวๆ ได้ 
3.วาดรูป สี่เหลี่ยม 4 x 8 นิ้ว 2 ช่อง ช่องแรก แรเงาจากเข้มมากจนจางลง ช่อง 2 แรเงาจากอ่อนถึงเข้มมาก แต่ละช่องต้องแรเงาให้สีสม่ำเสมอกัน 


    เทคนิค      ดินสอ HB ตีกรอบ ดินสอ EE แรเงา สำคัญ ดินสอเหลาต้องแหลมพอสมควร ทิศทางที่แรเงาต้องเป็นแนวเดียวกัน บนลงล่าง-ล่างขึ้นบน หรือ ทะแยงบนลงล่าง-ล่างขึ้นบน จับดินสอเหมือนจับปากกาทำมุมประมาณ 45 องศา แต่ละช่องต้องตั้งใจและใช้เวลานานพอสมควรไม่ควรรีบร้อน


    ขั้นสอง    การเรียนรู้เรื่องแสงเงา
1.วาดรูปทรงกระบอก แรเงาให้ดูเป็นรูป 3 มิติ มีเงาตกทอด
2.วาดรูปทรงกลม แรเงาให้ดูเป็นรูป 3 มิติ มีเงาตกทอด
3.วาดรูปทรงกระบอก 3 อัน ให้แสงส่องคนละด้าน ทั้งนอนและเอียง อาจวาดรูป สามเหลี่ยม หกเหลี่ยมเพื่อเป็นการฝึกเพิ่มเติม
4.วาดรูปทรงเรขาคณิตแบบกลุ่มแล้วลงแสงเงา กลุ่ม 1