วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

art สีน้ำ

เทคนิคการเขียนภาพสีน้ำ
การเขียนภาพสีน้ำทิวทัศน์เป็นการเขียนภาพที่หลาย ๆ คนสนใจ  ศิลปินหลาย ๆ คนต่างก็มีเทคนิควิธีการแตกต่างกัน ตามความถนัดและความสามารถเฉพาะตน โดยหลักการหรือเทคนิควิธีการ  ถ้าได้ศึกษาฝึกเขียนจนเกิดความชำนาญแล้วขั้นตอนจะไม่ตายตัว 
          แต่มีหลักเกณฑ์อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมชาติของการเขียนสีน้ำที่ควรคำนึง คือ การลงน้ำหนักจากอ่อนไปหาเข้ม  หมายถึง การลงสีพื้นหรือน้ำหนักของสิ่งต่าง ๆ จากอ่อนไปหาเข้ม


๑. กลุ่มสีเหลือง ได้แก่ Lemon yellow, Gamboge, Yellow ochre 
๒. กลุ่มสีฟ้า ได้แก่ Cerulean blue, Cobalt blue, Untramarine blue 
๓. กลุ่มสีแดง + ม่วง ได้แก่ Rose madder, Alizarine crimson, Mauve 
๔. สีเขียว ได้แก่ Sap green 
๕. กลุ่มสีน้ำตาล ได้แก่ Sepia, Burnt sianna 
๖. กระดาษ อาร์เช่ (Arches) ๑๘๕ แกรม 
 ๗. พู่กันกลม เบอร์ ๔, ๘, ๑๒  พู่กันแบน ๑ นิ้ว 

คัดเลือกภาพที่ต้องตา ต้องใจ มาเป็นแบบ
 
คัดเลือกภาพที่ต้องตา ต้องใจ มาเป็นแบบ
ร่างภาพด้วยดินสอ
 
 
 ลงสีพื้นด้วยสีฟ้า (Cerulean blue) กับสีเหลือง (Yellow ochre) เป็นบรรยากาศรวมของภาพ เน้นสีให้หนักขึ้นในระยะใกล้ใช้สีม่วง (Mouve) และสีเขียว (Sap green)
 เขียนภาพเรือ ลงน้ำหนักใต้ท้องเรือและสีพื้นด้วยสีม่วง (Mauve) น้ำตาล (Burnt sienna) ฟ้า (Cobalt blue)
 
 
 การเขียนรายละเอียด ใช้พู่กันเล็กเบอร์ ๔
 
 ขียนผักตบในระยะใกล้ ด้วยสีเขียว (Sap green) กับสีเหลือง (Gamboge) เน้นน้ำหนักแสงเงาด้วยสีน้ำตาลอมเขียว
 
 
 
 
 
 
 ภาพที่ลงน้ำหนักรวมของเรือและผักตบ ในระยะหน้าลำไม้ไผ่ ๒ ต้น ผลักระยะให้เกิดความลึกของภาพ
 
 คัดน้ำหนักให้ชัดเจน
 
 ลงเงาสะท้อนของเรือในน้ำ ในจังหวะดียวกันอย่างรวดเร็ว ทิ้งฝีแปรงให้เกิดความสนุกสนานพร้อมกับเบรคสีด้วยสีคู่ตรงกันข้าม
 
ผลงานที่เสร็จสมบูรณ์
          “มีคำถามที่ได้ยินเสมอว่า  ในการเขียนภาพสีน้ำควรเขียนจากข้างหน้าก่อน หรือข้างหลังก่อน  คำถามนี้ขอตอบว่าข้างหน้าก่อนหรือข้างหลังก่อนก็ได้  แต่การเขียนสิ่งที่อยู่ข้างหน้าก่อน  ไม่ว่าจะเป็นหุ่นนิ่ง  ทิวทัศน์  หรือภาพคน  มีข้อดีตรงที่สามารถแยกระยะน้ำหนักของภาพได้ดีกว่า 
         หรือบางคนสามารถลงน้ำหนักทั้งระยะหน้า และระยะหลังควบคู่กันไปก็ได้  สิ่งที่สำคัญคือต้องเขียนให้ภาพมีมิติความลึก  เน้นให้จุดเด่นของภาพแลดูสวยงาม  ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องเกิดขึ้นจากการฝึกฝนปฏิบัติ  ทดลอง  จนเกิดความเข้าใจ  เกิดทักษะความชำนาญในการเขียนสีน้ำ 
         อยากให้กำลังใจทุกคนที่รักการเขียนสีน้ำ  ฝึกปฏิบัติจากง่ายไปหายาก  จนเกิดความประทับใจ  เกิดแรงบันดาลใจ เข้าใจในธรรมชาติของสีและน้ำ  เราจะรู้ว่าการเขียนสีน้ำนั้นไม่ยากเลย” 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น